วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สบู่ รังไหมและใยบวบ ชนิดและ ประโยชน์ ในเครื่องสำอาง ตอนที่ 1


http://www.mildsoapandcosmetic.com/ จำหน่ายสบู่และวัตถุดิบและเครื่องสำอาง

รังไหมสีทองของที่ร้านเป็นพันธุ์ไทยพื้นบ้าน 
เช่น พันธุน์างเหลือง พันธุน์างลาย พันธุสำโรง 
มีคุณภาพของ รังไหม ดีกว่าพันธุ์ไทยปรับปรุง
รังไหมสีขาว เป็นลูกผสมจีนกับญี่ปุน 

รังมีขนาดใหญ่และมันวาวกว่ารังไหมสีทองพันธุ์ไทย
ทีมาหลายจังหวัดทาง อีสาน ส่วนมาก 

เป็นนครราชสีมา กับอุบลราชธานี


ประโยชน์ในการใช้ผสมในเครื่องสำอางค์
สีเหลืองและ ขาว มาจากไหมคนละสายพันธุ์ 

ประโยชน์พอๆกันรังไหมทองหรือสีเหลือง
มีกรดอะมิโน(หน่วยย่อยของโปรตีน)มากกว่า 2 ตัว คือ 18 ตัว สีขาว 16 ตัว


1.มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยให้แผลหายเร็ว
2.สามารถกำจัีดเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด
   ที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง
3.ช่วยรักษาปริมาณน้ำในผิวหนัง 
   ผิวชุ่มชื้นอ่อนวัย 
4.กำจัดสิ่งสกปรกในระดับเซลล์ 
   ช่วยยืดอายุของเซลล์
5.พันธ์ไทยพื้นบ้านมีคุณสมบัติบางอย่างเด่น
   กว่าพันธ์ต่างประเทศ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมต่อด้านล่างค่ะ




งานวิจัยด้านไหม

รังไหมประกอบด้วยโปรตีนไฟโบรอิน 70-80% และโปรตีนเซอริซิน 20-30% 

ซึ่งไฟโบรอิน 2 สายถูกหุ้มด้วยกาวเซอริซินซึ่งจะถูกกำจัดทิ้งในกระบวนการลอกกาวไหม 
ผงไหมจึงมี 2 ชนิดคือผงไหมเซอริซิน และผงไหมไฟโบรอิน 
ผงไหมช่วยให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้น มีสารทำให้หน้าขาว 
มีคุณสมบัติลดน้ำตาลและโคเลสเตอรอลในเลือด 
จึงใช้เป็นส่วนผสมในอาหารเพื่อสุขภาพและเครื่องสำอาง



ปัจจุบันมีการนำไฟโบรอินมาใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง
ทั้งในรูปของเหลวและผง โดยเครื่องสำอางที่เป็นน้ำก็จะใช้สารสกัดในรูปของเหลวผสม 
เครื่องสำอางที่อยู่ในรูปผงก็ใช้สารสกัดที่เป็นผง ซึ่งไฟโบร อินเป็นสารธรรมชาติ 
จึงไม่มีการระคายเคืองผิว และยังรักษาความชุ่มชื้นให้กับผิวได้ดีด้วย


ประโยชน์ทางเครื่องสำอาง รังไหมมีกรดอะมิโนอยู่มากถึง 16-18 ชนิด 

มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น 
สามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง 
ทั้งยังช่วยรักษาปริมาณน้ำในผิวหนัง 
กำจัดสิ่งสกปรกในเซลล์และยืดอายุเซลล์ได้อีกด้วย 
นอกจากนี้ การวิจัยยังพบว่า ผงไหมพันธุ์ไทยยังมีคุณสมบัติพิเศษ 
บางชนิดเด่นมากกว่าพันธุ์ไหมของต่างประเทศ 


กลุ่มวิจัยฯ ได้ทำการลอกกาวเซอริซินด้วยเอนไซม์ปาเปนจากยางมะละกอ 

เอนไซม์โบรมิเลนจากสัปรด เอนไซม์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
 และเอนไซม์จากจุลินทรีย์จากธรรมชาติ 
เพื่อทำการลอกกาวออกจากเส้นไหมให้เหมาะสมกับการทอผ้า 
นอกจากนี้ยังได้เซอริซินมีขนาดที่แน่นอน
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งทางการแพทย์และเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางอีกด้วย


ได้ศึกษาเอนไซม์จากน้ำย่อยของหนอนไหมพบว่า

สามารถย่อยสลายพลาสติก PLA และไฟโบรอินได้ 
ได้แยกเอนไซม์ให้บริสุทธิ์และอยู่ในระหว่างโคลนยีนเพื่อจะนำเอนไซม์ไปประยุกต์ใช้ต่อไป


คณะผู้วิจัยอยู่ในระหว่างการสร้างไหมข้ามพันธุ์ (Transgenic silkworm) 

และได้พัฒนาระบบการแสดงออกในเซลล์แมลง (BmNPV expression system) 
เพื่อใช้เป็นโรงงานผลิตโปรตีนที่มีมูลค่าสูง เช่นผลิตโปรตีน HIV-1 envelope glycoproteins 
และนอกจากนี้กำลังสร้างไหมข้ามพันธุ์เพื่อการต้านทานโรคต่างๆ



Silk Science - Silk Crystal®
Silk fiber that has been traditionally used in textiles is the fibroin protein.
Fibroin protein is known to have serveral mysterious characteristics:
  • Superior capability in modulating moisture;
  • providing an anti-bacterial agent;
  • blocking UV rays;
  • preventing skin inflammation and pimples;
  • promoting the production of collagen and regeneration of skin cells.
Products in the market currently that contain silk amino acids derive the silk compound by
decomposing silk protein with acid, alkali or enzyme.
This process destroys most of the original characteristics found in silk.
Silk Crystal® on the other hand, is an innovative biomaterial derived using FineCo's
advanced nano-technology, preserving the many properties of silk fibroin.
The structure of Silk Crystal® is composed of many micro pores which bind water molecules
as much as 50 times their weight, and can absorb both water and oil withoutusing any emulsifier ,
so it provides good water-oil balance to the skin.
Reference 


1.จาก ชีวเคมีเทคโนโลยีหม่อนไหม: งานวิจัยแบบบูรณาการ
Biochemical Technology of Mulberry and Si
lkworm: Integrated Research
http://www.rdi.ku.ac.th/kasetfair49/Technology/t_02/t_02.htm  


2.“มหัศจรรย์ผงไหม สร้างมูลค่าสู่ภาคอุตสาหกรรม” 
http://newstkc.stkc.go.th/newsDetail.php?id=353

3.Mysterious Natural Protein-Silk
http://www.la-soie.appspot.com/lasoie_silk_science_silk_crystal.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น