วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

โซดาไฟ หรือคอสติกโซดา( caustic soda )/โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) คุณสมบัติและการใช้


จัดจำหน่ายพิมพ์สบู่และวัตถุดิบทำสบู่

โซดาไฟ หรือคอสติกโซดา caustic soda คือ "สารประกอบชนิดหนึ่ง ชื่อ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นของแข็งสีขาว 
ดูดความชื้นดีมาก ละลายน้ำได้ดี ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทำสบู่ เส้นใยเรยอน" 
ใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ 
เช่น การผลิตเยื่อและกระดาษ สบู่และผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์ การทำความสะอาด โรงกลั่นน้ำมัน 
การใช้งานทาง อุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเส้นใยเรยอน สิ่งทอ และอื่น ๆ

ข้อควรระวังเมื่อใช้โซดาไฟ

เมื่อสูดดมสาร
ถ้าสูดดมเข้าไป, ให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์.  ถ้าไม่หายใจ ให้การช่วยหายใจ.  ถ้าหายใจลำบาก, ให้ออกซิเจน.
เมื่อสัมผัสสาร
ในกรณีที่ถูกผิวหนัง, ให้ล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที.  ถอดเสื้อและรองเท้าที่เปื้อนสาร.  ไปพบแพทย์.
เมื่อสารเข้าตา
ในกรณีที่เข้าตา, ให้ล้างด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที.  ต้องแน่ใจว่าได้ล้างตาอย่างเพียงพอ 
โดยใช้นิ้วมือแยกเปลือกตาออกจากกันระหว่างล้าง.  ไปพบแพทย์.
เมื่อกลืนกิน
เมื่อกลืนกิน, ให้ใช้น้ำบ้วนปากในกรณีที่ผู้ป่วยที่ยังมีสติอยู่.  ไปพบแพทย์ทันที.  ห้ามทำให้อาเจียน.

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

   1.ถ้าหายใจเข้าไปให้รีบย้ายผู้ป่วยออกมา ให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์แล้วรีบนำส่งแพทย์ 
         2.หากเข้าตารีบล้างตาด้วยน้ำอุ่นทันที โดยค่อย ๆ ให้น้ำไหลผ่านตา 30 นาที เปิดเปลือกตาไว้ 
            พยายามอย่าให้น้ำล้างตาไหลข้างที่มีสารเคมีไหลเข้าตาข้างที่ไม่เป็นอะไรโดยเด็ดขาด 
            เมื่อถูกผิวหนังให้รีบล้างออก โดยให้น้ำไหลผ่านบริเวณที่ถูกสารอย่างน้อย 30 นาที 
            พร้อมกับถอดชุดและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เปื้อนสารออกแล้วรีบนำส่งแพทย์ให้เร็วที่สุด

โซดาไฟกับปฏิกิริยาต่อเนื่อง

   แม้ว่าโซดาไฟเป็นสารไม่ติดไฟ แต่ถ้าสัมผัสกับสารบางชนิด เช่น กรดเข้มข้น หรือทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำ 
         จะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีกันจนเกิดความร้อนพอเพียง และทำให้สารที่วางอยู่ใกล้สามารถติดไฟได้ 
         การดับเพลิงจึงต้องดูสารที่เป็นคู่ปฏิกิริยาทางเคมี และรวมถึงการเลือกใช้เครื่องดับเพลิงให้ถูกต้องกับเหตุการณ์ด้วย
     การเตรียม สารละลาย NaOH ใช้ในการทำสบู่
  - ตวงน้ำสะอาด อาจเป็นน้ำดื่ม หรือน้ำประปา  ปริมาตรตามต้องการ ใส่ภาชนะพลาสติกหนา หรือ แก้ว
     ห้ามใช้พลาสติกใส ขวด PET ขวดน้ำดื่ม ภาชนะโลหะทุกชนิด
  - ชั่งโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH)เกล็ด น้ำหนักตามต้องการ ค่อยๆเทลงในน้ำที่เตรียมไว้ คนช้าด้วยแท่งแก้ว หรือ ไม้พายเล็ก จนละลายหมดช่วงนี้จะมีความร้อน และไอด่าง ควรเตรียมในที่โล่ง ใส่แว่น และ ถุงมือ  ถ้าสัมผัสกับด่างให้ล้างด้วยน้ำสะอาดมากๆ

ตารางแสดง ค่าความหนาแนน่ของ โซเดียมโฮดรอกไซด์ และกรดบางชนิด

    

    
 Credit : 1.https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F
            2.http://www.chembuddy.com/?left=CASC&right=density_tables
            3.http://www.chemtrack.org/MSDSSG/Trf/msdst/msdst1310-73-2.html